หน้าแรก » เว็บบอร์ด » ห้องนั่งเล่น สำหรับพูดคุยทั่วไป » หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาจใกล้ตัวคุณมากกว่าที่คิด

โพสต์โดย : totheworld เมื่อ 16 มิ.ย. 2565 12:48:23 น. อ่าน 125 ตอบ 0

         คุณรู้หรือไม่ว่า ในปัจจุบันนี้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและโรคที่เกี่ยวกับกระดูก ไม่ได้พบแต่เพียงในผู้สูงอายุหรือผู้ที่ประสบอุบัติเหตุเท่านั้น แต่ยังสามารถพบได้ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานได้เช่นกัน เราจึงอยากให้คุณทำความรู้จักกับโรคนี้ไว้ ทั้งสาเหตุของโรค อาการ และแนวทางการรักษา เพื่อให้คุณรู้ตัวทันหากมีความเสี่ยงของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

 

สาเหตุของโรค

      โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีสาเหตุมาจากการที่หมอนรองกระดูกสันหลังที่จะอยู่บริเวณตามข้อของกระดูกสันหลัง ซึ่งมีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหว รองรับน้ำหนัก และรองรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง เกิดการแตกหรือปลิ้นออกมา จนไปกดทับเส้นประสาทบริเวณใกล้เคียง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าวมีได้หลากหลาย ทั้งการใช้งานกระดูกสันหลังหนัก ยกของหนัก เคลื่อนไหวผิดท่าทาง ได้รับบาดเจ็บหรือประสบอุบัติเหตุ รวมทั้งหมอนรองกระดูกเสื่อมตามวัย

 

อาการของโรค

         อาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นมีความรุนแรงของอาการหลายระดับตามสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค แต่โดยทั่วไปอาการของโรคนี้ที่พบส่วนใหญ่มีดังนี้

  1. ปวดบริเวณหลัง  ซึ่งหากโรคเกิดที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และอาจปวดร้าวลงแขน ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคหมอนรองกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง จะมีอาการปวดหลังส่วนล่าง บริเวณเอว สะโพก และอาจปวดร้าวลงขาได้

  2. มีอาการชาและกล้ามเนื้ออ่อนแรง  เนื่องมาจากการความผิดปกติในการทำงานของเส้นประสาทที่ถูกหมอนรองกระดูกกดทับ จึงส่งผลให้เกิดอาการชาบริเวณมือ แขน ขา และเท้า และอาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนไม่มีแรงเดินหรือหยิบจับสิ่งของได้



  1. ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้  เกิดกับผู้ป่วยหมอนรองกระดูกทับประสาทที่มีอาการรุนแรง หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการนี้ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะเป็นสัญญาณอันตรายว่าอาจมีความเสี่ยงร้ายแรงที่ตามมาได้

 

 แนวทางการรักษาโรค

         วิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงและสาเหตุของการเกิดโรค หากเกิดจากสาเหตุที่หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักตัวที่มากเกินเกณฑ์ ผู้ป่วยอาจใช้วิธีลดน้ำหนักและไม่ทำกิจกรรมที่กระทบกระเทือนหลัง นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่น ๆ เช่น การทำกายภาพบำบัด การทานยา หรือเข้ารับการผ่าตัด หากพบว่าอาการของโรคอยู่ในระดับที่รุนแรงแล้ว

 

สรุป

         หากพบว่ามีอาการปวดบริเวณหลังหรืออาการอื่น ๆ ที่คล้ายเคียงกับอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คุณควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอาการดังกล่าว หรือถ้าหากคุณยังไม่ได้เป็นโรคนี้ ก็อย่าลืมว่ายังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคนี้ขึ้นได้กับทุกคน คุณควรดูแลหลังอย่างถูกต้อง ไม่ยกของหนัก เคลื่อนไหวผิดท่าทาง ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาที่กระทบหลังอย่างแรง ไม่นั่งหรืออยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน และทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้นกับตัวคุณ


  โปรโมชั่น ประจำเดือน มิ.ย.67 บริการปักหมุดประกาศฟรี (จำนวนจำกัดเพียง 10 ป้ายเท่านั้น) เหลืออีก 8 ป้าย สมาชิกที่สนใจ กรุณาส่งลิ้งค์ประกาศของท่าน มาที่อีเมล์ kree005@hotmail.com ระบุหัวข้อเรื่องว่า ปักหมุดประกาศโปรโมชั่น โดยจำกัดสมาชิกละ 1 ประกาศเท่านั้น ประกาศของท่านจะถูกปักหมุดในหน้า ลงประกาศฟรี ไม่มีการเลื่อนลงไปด้านล่างและมีความโดดเด่นยิ่งขึ้น