โพสต์โดย : Tontong เมื่อ 2 เม.ย. 2568 11:02:36 น. อ่าน 3 ตอบ 0
“เซลล์เชื้อเพลิง” หรือ Fuel Cell อีกเนื้อหาที่น่าสนใจในเรื่องของการเรียนสายวิทย์ที่เด็ก ๆ ทุกคนควรทำความรู้จักเพื่อสร้างทักษะพื้นฐานที่ดีและนำไปใช้ต่อยอดกับการเรียน การทำงานต่าง ๆ ในอนาคตได้ ลองมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปพร้อมกัน มั่นใจว่าจะช่วยเพิ่มศักยภาพและความน่ารู้ในด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้นกว่าเดิมแน่นอน
เซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) คือ เซลล์ผลิตไฟฟ้าเคมีประเภทหนึ่งระบบการทำงานใกล้เคียงกับระบบแบตเตอรี่แต่ความต่างคือตัวเซลล์ดังกล่าวถูกออกแบบให้เติมไฮโดรเจนและออกซิเจนตลอดเวลาเพื่อเปลี่ยนโมเลกุล
2 ชนิดนี้สู่พลังงานไฟฟ้า หรือจะเรียกการผลิตไฟฟ้าผ่านกระบวนการเคมีและใช้ได้เต็มกำลัง
ไม่ต้องถูกจำกัดความจุเหมือนกับแบตเตอรี่ก็ได้เช่นกัน ไม่มีปฏิกิริยาการเผาไหม้
เสถียรมาก ดีต่อสภาพแวดล้อม สามารถจ่ายกระแสไฟได้ 1.16 โวลต์ / เซลล์
ตัวเซลล์เชื้อเพลิงยังมีอิเล็กโทด 2
ขั้ว ได้แก่ ขั้วแคโทด (Cathode) ใช้สารตั้งต้น
H2 หรือขั้วบวก และ ขั้วแอโนด (Anode) ใช้สารตั้งต้น O2 หรือขั้วลบ แต่ละขั้วมีแท่งคาร์บอนแบบรูพรุน 2 แท่ง เป็นขั้วไฟฟ้า ส่วนผิวตัวแท่งมีผงแพลทินัมหรือผงแพลเลเดียมสำหรับเร่งปฏิกิริยา
ซึ่งตัวแท่งคาร์บอนต้องจุ่มในสารพาประจุ หรือ อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) แล้วกระแสไฟจึงส่งผ่านไปยังอีกขั้ว อีกทั้งยังมีตัวเร่งปฏิกิริยา
(Catalyst) ในแต่ละขั้นตอนเพื่อสร้างกระแสไฟให้มากกว่าเดิม
1. Alkaline
Fuel Cell (AFC)
นี่คือเซลล์เชื้อเพลิงชนิดแรกของโลก ในอดีตถูกใช้งานกับโครงการอวกาศสหรัฐฯ
ช่วงทศวรรษ 1960 แต่ไวต่อการปนเปื้อนจึงต้องใช้ไฮโดรเจนและออกซิเจนบริสุทธิ์ ทำให้ราคาสูงมาก
2. Proton
Exchange Membrane Fuel Cell (PEMFC)
ประเภทของเซลล์เชื้อเพลิงที่ได้รับความนิยม
ราคาถูก อุณหภูมิไม่สูงเกินไป ผลิตจากไฮโดรเจนบริสุทธิ์และอากาศ มักใช้สำหรับการเป็นพลังงานขับเคลื่อนรถยนต์และแหล่งกำเนิดกระแสไฟขนาดเล็กสำหรับที่อยู่อาศัย
3. Solid
Oxide Fuel Cell (SOFC)
อุณหภูมิการทำงานสูงสุดประมาณ
800-1,000 องศาเซลเซียส จึงมักใช้กับโรงงานไฟฟ้าขนาดใหญ่
สร้างไอน้ำอุณหภูมิสูงที่สามารถใช้ผลิตไฟฟ้าได้ดี
และยังสามารถใช้ปั่นกังหันก๊าซได้ด้วย
4. Molten
Carbonate Fuel Cell (MCFC)
นิยมใช้กับสถานีไฟฟ้าหรือโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
ด้วยระดับอุณหภูมิประมาณ 600 องศาเซลเซียส จึงสร้างพลังงานไฟฟ้าถึง 2 เมกะวัตต์
เกิดไอน้ำความดันสูงเพื่อช่วยผลิตกระแสไฟฟ้าชนิดความร้อนรวม เทียบกับ SOFC แล้วถือว่าราคาไม่แพง
5. Phosphoric-Acid
Fuel Cell (PAFC)
เซลล์เชื้อเพลิงตัวแรกที่สร้างเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
อุณหภูมิประมาณ 200 องศาเซลเซียส สร้างพลังงานไฟฟ้า 200 กิโลวัตต์
ใช้กับสถานีไฟฟ้าหรือแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก เช่น อาคารสำนักงาน โรงแรม
6. Direct Methanol Fuel Cell (DMFC)
ใช้เมทานอลเป็นเชื้อเพลิงหลัก
แรงดันไฟฟ้าต่ำจึงต้องใช้เซลล์เยอะเพื่อต่ออนุกรมให้เกิดแรงดันเพียงพอ แต่ยังใช้งานได้ดีอุปกรณ์ขนาดเล็ก
เช่น มือถือ โน้ตบุ๊ก
เนื้อหาของเซลล์เชื้อเพลิงกันเหล่านี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิด
แถมยังสนุกไปกับความแตกต่างและการนำไปใช้งานอีกด้วย ใครชอบการเรียนวิทยาศาสตร์
เรียนเคมี นี่คือเรื่องน่าสนใจที่สามารถศึกษากันแล้วต่อยอดในอนาคตได้เลย
![]() |